วันเสาร์, พฤษภาคม 08, 2553

"ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนได้อย่างไร"


ท่านผู้หญิงเกนหลง เขียนไว้ในหนังสือ
"ทำเป็นธรรม" ขณะเสด็จฯ ออกจากประเทศไทยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีประชาชนส่งเสด็จจำนวนมาก ดังนี้

ท่ามกลางเสียงโห่ร้องถวายพระพร ระหว่างที่รถพระที่นั่งแล่นผ่าน ฝูงชนส่งเสด็จเดินทางจากสยามประเทศเพื่อไปศึกษาต่อ ณ สวิตเซอร์แลนด์
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2489 ได้มีเสียงหนึ่งตะโกนแทรกมาเข้าพระกรรณว่า
"ในหลวงอย่าทิ้งประชาชน" ในขณะนั้น ทรงนึกตอบในพระทัยว่า
"ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้วข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนได้อย่างไร"
ภาพนี้ยังคงติดอยู่ในพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หั
ว จนมิอาจลืมเลือนได้ตราบถึงปัจจุบัน เพราะทรงตระหนักว่า
ทรงมีหน้าที่เพื่อชาติ ถึงโอกาสที่ควรจะทรงทำหน้าที่เพื่อชาติและประชาชน
ตามที่ประชาชนพร้อมใจกันทูลเกล้าฯ ถวายพระราชภาระอันยิ่งใหญ่

และเพื่อเป็นการผ่อนคลายความเศร้า
ความเสียขวัญของพสกนิกรชาวไทย ซึ่งเพิ่งผ่านการสูญเสียครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์
ระหว่างนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชนิพนธ์บันทึกประจำวัน
"เมื่อ ข้าพเจ้าจากสยาม สู่สวิตเซอร์แลนด์"
พระราชทานแก่หนังสือวงวรรณคดีไทย
เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกซาบซึ้งพระราชหฤทัยถึงน้ำใจของ
ประชาชนที่พร้อมใจกันมาส่งเสด็จอย่างมืดฟ้ามัวดิน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มบท
พระราชนิพนธ์ว่า...

"วงวรรณคดี" ได้ขอร้องให้ข้าพเจ้าเขียนเรื่องเล็กน้อยที่ถนัดมาลงในหนังสือนี้นานมาแล้ว
อันที่จริงข้าพเจ้าก็ไม่ใช่นักประพันธ์ เมื่ออยู่โรงเรียน
เรียงความและแต่งเรื่องก็ทำไม่ได้ดีนัก...ฉะนั้น
จึงตกลงใจส่งบันทึกประจำวันที่เขียนไว้ก่อนและระหว่างวันเดินทาง
จากสยามสู่สวิตเซอร์แลนด์มาให้

และในโอกาสนี้จึงขอขอบใจเป็นการส่วนตัวต่อ ทุกๆ คน
ที่มาถวายความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชของข้าพเจ้า
ณ พระมหาปราสาท ตลอดจนความปรารถนาดี ที่มีต่อตัวข้าพเจ้าเอง
กับขอขอบใจเหล่าทหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการ
ด้วยความจงรักภักดีต่อเราทั้งสองด้วย

วั
นที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2489
- อีกสามวันเท่านั้น เราก็จะต้องจากไปแล้ว
ฉะนั้น จึงตั้งใจจะไปนมัสการพระพุทธชินสีห์ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
รวมทั้งสมเด็จพระสังฆราชด้วย ยืนรออยู่บ้าง แต่ไม่สู้มากนัก
เข้าไปในพระอุโบสถ จุดเทียนนมัสการ ฯลฯ...แล้วได้มีโอกาสทูลปฏิสันถารกับสมเด็จพระสังฆราช
ทรงนำพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์สูงมาให้รู้จัก
โดยปกติได้เคยเห็นท่านเหล่านี้มาจนชินแล้ว
ทรงนำขึ้นไปนมัสการพระสถูป บนนั้นมีพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่
ชื่อพระไพรีพินาศ พระองค์นี้เคยทรงเล่าประวัติมาก่อนหน้านี้แล้วหลายวั
น หลังจากนั้นก็นมัสการลา

ตอนนี้มีราษฎรชุมนุมกันหนาตาขึ้น ต่างก็ยัดเยียดเบียดเสียดกันจนรู้สึกเกรงไปว่ารถที่นั่งมาจะทับเอาใครเข้าบ้าง ช่างเคราะห์ดีแท้ๆ ที่ไม่มีอันตรายอันใดเกิด ขึ้นแก่ประชาชนที่มานั้นเลย ในหมู่ประชาชนที่มารอกันอยู่วันนี้ จำได้ว่ามีบางคนเคยเห็นที่พระมหาปราสาทเป็นประจำมิได้ขาด ไม่รู้ว่าหาเวลามาจากไหน จึงไปที่พระมหาปราสาทได้เสมอเกือบทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และวันอาทิตย์ พวกนี้ก็มาที่วัดนี้ด้วยเหมือนกัน

วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2489
- เก็บของลงหีบและเตรียมตัว...

วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2489
- เราต้องจากไปในวันพรุ่งนี้แล้ว! อะไรๆ ก็จัดเสร็จหมด
หมายกำหนดการก็มีอยู่พร้อม...บ่ายวันนี้เราไป
ถวายบังคมพระบรมอัฐิของพระบรมราชบุพการีของเรา
ทั้งสมเด็จพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลก่อนๆ
แล้วก็ไปถวายบังคมลาพระบรมศพ เราต้องทูลลาให้เสร็จในวันนี้
และไม่ใช่พรุ่งนี้ตามที่ได้กะไว้แต่เดิม เพื่อจะรีบไม่ให้ชักช้า เพราะพรุ่งนี้จะได้มีเวลาแล่นรถช้าๆ
ให้ราษฎรเห็นหน้ากันโดยทั่วถึง

เมื่อออกจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณมายังพระที่นั่งอมรินทร-วินิจฉัย
ผู้คนอะไรช่างมากมายเช่นนั้น! เมื่อวานนี้เจ้าหน้าที่ได้เข้ามาถามว่า
จะอนุญาตให้ประชาชนเข้ามาหรือไม่ ในขณะที่ไปถวายบังคมพระบรมศพ
ตอบเขาว่า "ให้เข้ามาซิ" เพราะเหตุว่า วันอาทิตย์เป็นวันสำหรับประชาชน
เป็นวันของเขา จะไปห้ามเสียกระไรได้ และยิ่งกว่านั้น
ยังเป็นวันสุดท้ายก่อนที่เราจะจากบ้านเมืองไปด้วย
ข้าพเจ้าอยากจะแลเห็นราษฎร เพราะกว่าจะได้กลับมาเห็นเช่นนี้ก็คงอีกนานมาก.
วันนี้พวกทหารรักษาการณ์กันอย่างเต็มที่
เพื่อกันทางไว้ให้รถแล่นได้สะดวกไม่เหมือนเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ที่มากันคน

วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2489
- วันนี้ถึงวันที่เราจะต้องจากไปแล้ว!
พอถึงเวลาก็ลงจากพระที่นั่งพร้อมกับแม่ ลาเจ้านายฝ่ายใน ณ พระที่นั่ง
ชั้นล่างนั้น แล้วก็ไปยังวัดพระแก้ว เพื่อนมัสการลาพระแก้วมรกต และพระภิกษุสงฆ์
ลาเจ้านายฝ่ายหน้า ลาข้าราชการทั้งไทยและฝรั่ง แล้วก็ไปขึ้นรถยนต์

พอรถแล่นออกไปได้ไม่ถึง 200 เมตร มีหญิงคนหนึ่งเข้ามาหยุดรถ
แล้วส่งกระป๋องให้เราคนละใบ ราชองครักษ์ไม่แน่ใจว่าจะมีอะไรอยู่ในนั้น
บางทีจะเกิดเป็นลูกระเบิด! เมื่อมาเปิดดูภายหลัง ปรากฏว่าเป็นทอฟฟี่ที่อร่อยมาก
ตามถนนผู้คนช่างมากมายเสียจริงๆ ที่ถนนราชดำเนินกลาง
ราษฎรเข้ามาใกล้จนชิดรถที่เรานั่ง กลัวเหลือเกินว่าล้อรถของเราจะไปทับแข้งทับขาใครเข้าบ้าง
รถแล่นฝ่าฝูงคนไปได้อย่างช้าที่สุด ถึงวัดเบญจมบพิตรรถแล่นเร็วขึ้นได้บ้าง
ตามทางที่ผ่านมา ได้ยินเสียงใครคนหนึ่งร้องขึ้นมาดังๆ ว่า
"อย่าละทิ้งประชาชน"
อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า
ถ้าประชาชนไม่ "ทิ้ง" ข้าพเจ้า แล้ว ข้าพเจ้าจะ "ละทิ้ง"
อย่างไรได้ แต่รถวิ่งเร็วและเลยไปไกลเสียแล้ว

เมื่อมาถึงดอนเมือง เห็นนิสิตมหาวิทยาลัยผู้จงใจมาเพื่อส่งเราให้ถึงที่
ได้รับของที่ระลึก เป็นรูปเครื่องหมายของมหาวิทยาลัย 11.45 นาฬิกาแล้ว
มีเวลาเหลืออีกเล็กน้อยสำหรับเปลี่ยนเครื่องแต่งตัว ที่สโมสรนายทหาร
ต่อจากนั้นก็ไปขึ้นเครื่องบิน เดินฝ่าฝูงคน ซึ่งเฝ้าดูเราอยู่จนวาระสุดท้าย


เมื่อขึ้นมาอยู่บนเครื่องบินแล้วก็ยังมองเห็นราษฎร
ได้ยินเสียงไชโยโห่ร้องอวยชัยให้พร
แต่เมื่อคนประจำเครื่องบินเริ่มเดินเครื่องทีละเครื่องๆ เสียงเครื่องยนต์ดังสนั่นหวั่นไหว
กลบเสียงโห่ร้องก้องกังวานของประชาชนที่ดังอยู่หมด
พอถึง 12 นาฬิกา เราก็ออกเดินทาง มาบินวนอยู่เหนือพระนคร
สามรอบ ยังมองเห็นประชาชนแหงนดูเครื่องบินทั่ว
ถนนทุกสายในพระนครบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตกมุ่งตรงไปยังเกาะลังกา (ซีลอน)
เสียงเครื่องบินดังสนั่นหนวกหู
หากผู้ใดอยากจะพูดก็จะต้องตะโกนออกมาให้สุดเสียง
ดังนั้น จึงไม่มีใครพูดเลย ทางที่ดีที่สุดที่พึงทำคือ หลับตาเสียแล้วนิ่งคิด

ที่มา : เปลว สีเงิน 26 กันยายน 2552
http://www.thaipost.net/news/260909/11335

จับใจเหลือเกิน ในเวลาที่บ้านเมืองลุกเป็๋นไฟอย่างนี้
ไม่รู้ว่า น้องๆวัยรุ่นสมัยนี้ จะมีความจับใจกับเรื่องพวกนี้สักกี่มากน้อย

แต่สำหรับแนน เวลาอ่านเรื่องอย่างนี้แล้วน้ำตามันซึมทุกครั้ง วันนี้ เห็นพวกพ้องที่แนวคิดเดียวกัน โมโห อารมย์เสีย กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราก็เข้าใจ
ว่าพรรคพวกรู้สึกอย่างไร เพราะวูบแรกก็ไม่ต่างกัน

แต่ถ้าเห็นแต่คนร้อนใจ แต่จะดับไฟอย่างไรถ้าใจร้อน ฝากหนึ่งเขาร้อน เจตนาเขาก็คือไม่อยากให้มันสงบ แล้วเราก็ลุกขึ้นฟาดฟันกัน บ้านเมืิิองก็ลุกเป็นไฟ สมใจเขาล่ะสิ

ใครจะทุกข์เท่า นายหลวงของเรา เนื่องจากทั้ง เราและเขาที่ลุกขึ้นฟาดฟัน
ลูกไทย เหมือนกันทั้งนั้นเป็นผสกนิกรในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่นกัน ในหลวงจะว่าอย่างไร หากฝ่ายนึงทำร้าย อีกฝ่ายโต้ตอบ เหมือนเห็นลูกฆ่ากัน ท่านจะเสียใจแค่ไหน

แล้วเราจะกล้าประกาศตัวเองว่าเรารักในหลวงอีกหรือ
อย่าละทิ้งท่าน โดยการไม่ละทิ้งแนวทางของท่าน

พระราชดำรัส "ในหลวง"เคยกล่าวไว้ว่า:ถ้าไม่สามัคคี ก็บอกแล้วว่า ประเทศจะประสบความหายนะ ไม่ได้ใช้คำว่าหายนะ แต่ก็คล้ายกัน ว่าถ้าไม่สามัคคีกัน ไม่ปรองดองกัน ประเทศชาติล้ม ถ้าล้มก็ ผลของการล้มนั้นมีหลายอย่าง ถ้าทางกายก็ร่างกายกระดูกหัก และต้องเข้ารักษา บางทีรักษานานๆ ไม่มีสิ้นสุด ถ้าไม่ระวังประเทศชาติก็ล่ม


ถ้ารักท่านจริงคนที่จากบ้านมาเพราะอะไรก็ตาม กลับบ้านเสียนะคะ
ระบบมันมีของมันอยู่ ท่านอยู่ตรงนี้ ก็ดีแต่ตกเป็นเครื่องมือของคนที่ไม่ต้องการความสงบ

ส่วนคนที่กำลังโมโห คิดว่าจะต้องบุก ต้องจัดการ จะต้องฆ่า จะต้องฟาดฟันกันให้ตายไปข้าง ถ้าเราใช้ความรุนแรงกับเขา แล้วที่เราว่าเขาใช้คว่ามรุนแรงความถ่อย ความความเถื่อน เราต่างจากเขาตรงไหน

ฝากอีกซักคำ "รักพ่อ อย่าทะเลาะกัน"

ไม่มีความคิดเห็น: